วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/BenjawanMD/Inequation/index.htm

ความน่าจะเป็น

http://thatsanee.chs.ac.th/p2_probra.html

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ประวัติ)




ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
การสร้างพระเครื่องไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย
ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวนมากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย
ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของ พระสมเด็จ เป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบ และย่อมาจากองค์พระประธาน จากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่านั้น ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวา องค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์ สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป) และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆ ปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลย ก็ตามทีต้องยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย
นอกจากรูปแบบอันงดงามของพระสมเด็จดังกล่าวแล้ว ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่อง อันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คงจะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตเถระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้สร้างปูชนียวัตถุแล้ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ
ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มีความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน
สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตารามนั้น ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง อาจจะพูดได้ว่า เป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเอง อย่างบริสุทธิ์ หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์ (อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบอย่างมาจากพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง
พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตารามในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม

พระท่ากระดาน


พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง ๑๑ ตน แต่มีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น
จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป
จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบพระท่ากระดานจำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบ แม่พิมพ์ ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่ว ที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณหน้าถ้ำลั่นทม คือ สถานที่สร้างพระท่ากระดาน นั่นเอง พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง ปลายเกศของพระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระท่ากระดาน คือ มือหรือพระหัตถ์มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์ ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง ในส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง) หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ) เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์
ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ
หลักการพิจารณาว่า พระองค์ใดเป็น พระกรุเก่า หรือ พระกรุใหม่ ให้พิจารณาพื้นผิวขององค์พระ พระกรุเก่า ขึ้นจากกรุมานานปี ผ่านการใช้สัมผัส และเปลี่ยนมือมามาก ทำให้ผิวขององค์พระเปิด เผยให้เห็นผิวของเนื้อพระได้โดยง่าย แม้จะเก็บรักษาอย่างดีเพียงใด ก็ยังพอสังเกตได้
ส่วน พระกรุใหม่ พื้นผิวขององค์พระ มักถูกปกคลุมด้วยคราบดินขี้กรุให้เห็นเป็นจำนวนมาก
ขนาดขององค์ พระท่าพระดาน พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ ๒.๘ ซม. สูงประมาณ ๔.๕ ซม. ความหนาที่ฐานพระ ๑.๓ ซม. พิมพ์เล็ก มีขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๘ ซม. ความหนาที่ฐาน ๑.๒ ซม.
พุทธคุณ ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี ราคาเช่าหาอยู่ที่หลักหลายแสนบาท มานานแล้ว เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่ผู้เป็นเจ้าของทุกคนพากันหวงแหนเป็นอันมาก

ตลาดน้ำอัมพวา

ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้ ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น"
สิ่งที่น่าสนใจตลาดน้ำยามเย็น จะมีทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 15.00 -22.00 น.วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น. ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ล่องเรือชมหิ่งห้อย นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะนั่งเรือชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน หรือล่องเรือท่องเที่ยวตามลำน้ำแม่กลอง ก็สามารถติดต่อเรือได้ ติดต่อ โทร.089-4154523

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก


ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อมบรรทุกสินค้าที่ ีจำเป็นต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลกเปลี่ยนสินค้า ในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวชมวิถีชีวิต และการค้าขายในตลาดน้ำแห่งแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นตลาด เก่าแก่นับร้อยปี ซึ่งได้ขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าการคมนาคม ในท้องถิ่นนี้ ไม่มีถนนที่เชื่อมกับอำเภออื่นๆ ส่วนมากใช้เรือเป็นพาหนะ โดยคลองนี้จะเชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง เข้าไว้ด้วยกัน ใช้เวลาขุดประมาณ 2 ปี ที่มาของชื่อคลองได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5

ยินดีต้อนรับ

สวัสดีทุกคน....ยินดีต้อนรับสู่ weblog......สู่การเรียนการสอน....วิชาคณิตศาสตร์...... และสาระอื่น ๆ ที่น่าเรียนรู้...